วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

รายชื่อและเบอร์โทรศัพย์แจ้งอุบัติเหตุบริษัทประกันภัย

 

 

ข้อแนะนำในการแจ้งอุบัติเหตุรถยนต์
วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์

1 แจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบทันที
2 รายละเอียดที่ต้องแจ้ง
- ทะเบียนรถ ยี่ห้อ สี หมายเลขกรมธรรม์
- เบอร์โทรศัพท์ของผู้ขับขี่ สถานที่เกิดเหตุ หรือบริเวณที่เห็นได้ง่าย
- ลักษณะการเกิดเหตุ
3 หลังโทร.แจ้งแล้ว ให้รอ ณ ที่เกิดเหตุ โดยปฏิบัติตามคำแนะนะเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่รับแจ้งอุบัติเหตุ
4 ไม่ควรเคลื่อนย้ายรถ เว้นแต่ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ รู้ผิดถูกแน่นอน และมีหลักฐาน หากมีการเคลื่อนย้ายรถ ต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบ
5 ไม่ควรตกลงชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อไม่แน่ใจในลักษณะอุบัติเหตุ
6 กรณีมีผู้บาดเจ็บ ให้ช่วยเหลือนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบ
7 ท่านสามารถนำรถเข้าซ่อมกับอู่ในสัญญาของบริษัทประกันภัยตามที่ท่านสะดวก

กรณีเป็นฝ่ายผิด

1 กรุณาอย่าหลบหนี เพราะท่านอาจไม่ใช่ผู้กระทำผิด การหลบหนีอาจเป็นเหตุทำให้ต้องโทษในคดีอาญาเพิ่มขึ้น

2 ควรแยกรถเพื่อมิให้กีดขวางจราจร

3 ถ้าไม่สามารถติดต่อบริษัทประกันภัย อาจดำเนินการโดย
นัดหมายกับคู่กรณีภายหลัง
ทำบันทึกยอมรับผิดให้คู่กรณีติดต่อบริษัทประกันภัยหลังจากท่านได้แจ้งอุบัติเหตุครั้งนี้ให้บริษัทประกันภัยทราบแล้ว หรือให้นำบันทึกยอมรับผิดติดต่อบริษัทประกันภัยของตน
แลกแบบฟอร์ม "ชนแล้วแยกแลกใบเคลม" ต่อจากนั้นรีบติดต่อเจ้าหน้าที่รับแจ้งอุบัติเหตุเพื่อลงนามรับผิดชอบคู่กรณีการทำบันทึกยอมรับผิดควรมีรายละเอียดดังนี้ (อาจเป็นแบบฟอร์ม ซึ่งเขียนขึ้นเองได้)
1 ชื่อ-นามสกุล ของฝ่ายผิด
2 ที่อยู่ เบอร์โทร โดยชัดเจนและสามารถติดต่อได้
3 วันที่ สถานที่เกิดเหตุ
4 ทะเบียนรถคันที่เป็นฝ่ายผิด และคันที่เป็นฝ่ายถูก
5 ข้อความที่ระบุว่ายอมรับผิด และรายละเอียดความเสียหาย
6 ลงลายมือชื่อพร้อมพยาน กรณีเป็นนามบัตร ต้องมีชื่อกำกับ

กรณีเป็นฝ่ายถูก

1 ถ้าคู่กรณีไม่ยอมรับผิดให้จดยี่ห้อรถ ทะเบียนรถคู่กรณีไว้ก่อนจากนั้นโทรแจ้งบริษัทประกันภัยทราบ
2 ไม่ควรแยกจนกว่าคู่กรณียอมรับผิด และมีหลักฐานให้ เช่น บันทึกยอมรับผิด หรือแบบฟอร์มชนแล้วแยกแลกใบเคลม
3 ถ้าคู่กรณีหลบหนีให้แจ้งตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน โดยระบุรายละเอียดคู่กรณีให้มากที่สุด
4 กรณีทรัพย์สินบนรถเสียหาย ต้องลงบันทึกประจำวันทุกครั้ง เพราะต้องเรียกร้องเองโดยตรง
กรณีมีผู้บาดเจ็บ

ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผิด หรือฝ่ายถูก ให้รีบนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที


ติดต่อ (เคลม) บริษัทประกันภัย

1 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 1577

2 บริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-631-1311

3 บริษัท อลิอันซ์ ซี พี ประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-638-9000

4 บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 1596

5 บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-285-8000, 02-257-8353

6 บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-788-8000

7 บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-254-9977

8 บริษัท แอล เอ็ม จี ประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-661-6000

9 บริษัท โตเกียวมารีนศรีเมืองประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-686-8616

10 บริษัท ไทยศรีประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-860-8001

11 บริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-644-6400

12 บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-640-7777

13 บริษัท มิครแท้ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-630-9055

14 บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-693-7456

15 บริษัท นวกิจประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ  1748

16 บริษัท นำสินประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-911-4567

17 บริษัท บีที ประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-657-1700

18 บริษัท ไทยไพบูลย์ประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-246-9635

19 บริษัท ฟีนิกซ์ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-763-6222

20 บริษัท สหมงคลประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-687-7777

21 บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-661-3355

22 บริษัท เทเวศน์ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-670-4444

23 บริษัท คูเนียประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-635-1555

24 บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 1620

25 บริษัท วิคเตอรีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-743-7999

26 บริษัท ไทยพาณิชย์สาม้คคี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-640-4500

27 บริษัท แอกซ่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-285-6388

28 บริษัท ไอโออิกรุงเทพประกันภัย จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-620-8000

29 บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) แจ้งอุบัติเหตุ 02-643-2121

30 บริษัท ชาร์ทิสประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งอุบัติเหตุ 02-649-1999

หมายเหตุ
ลูกค้าสามารถดูเบอร์ติดต่อฝ่ายเคลมของแต่ละบริษัทประกันภัยได้ในหน้าตารางกรมธรรม์ทุกฉบับ

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การประกันธุรกิจหยุดชะงัก

                                          ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก(Business Interruption insurance)
1.             การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คืออะไร
     การทำประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน เช่น การประกันอัคคีภัย การประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด เมื่อเกิดความสูญเสีย หรือเสียหายเกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่เอาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยจะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เฉพาะตัวทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เท่ากับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หรือผู้รับประกันภัย อาจชดใช้เป็นเงินสด หรือโดยการซ่อมแซม ให้กลับสู่สภาพเดิม หรือสร้างให้ใหม่ตามข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย
    เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า หากอัคคีภัยนั้นเกิดขึ้นต่อโรงงานที่ดำเนินการผลิต สินค้าใด ๆ ก็ตามนอกจากจะเกิดความเสียหาย ต่อทรัพย์สินแล้ว จะมีผลทำให้โรงงานนั้นต้องหยุดกิจการเพื่อมีการซ่อมแซมโรงงาน การผลิตก็หยุดชะงักลงในขณะที่ไม่มี การผลิตนั้นมีผลทำให้ยอดรายได้ของ เจ้าของธุรกิจลดลง ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าแห่งหนี่ง ทำประกันอัคคีภัยโรงงาน ไว้เต็มตามมูลค่าของทรัพย์สิน ต่อมาเกิดเพลิงไหม้ ทำให้โรงงานเสียหาย 50% บริษัทประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายตาม ความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง 50% นั้น และเมื่อพิจารณาต่อไปว่า ขณะที่รอการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและซ่อมแซมโรงงานนั้น การผลิตก็จะหยุดชะงักลงซึ่งเป็นผลเสียหายสืบเนื่องจากเพลิงไหม้ทำให้เกิดผล ที่ตามมาคือ ยอดรายได้ของเจ้าของโรงงานลดลง ค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิต เช่น ค่าเงินเดือน ค่าดอกเบี้ย ค่าเช่า เป็นต้น แต่ค่าใช้จ่ายบางส่วนจะลดลง ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน เป็นต้น
    ดังนั้น การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเจ้าของธุรกิจ
    โดยหลักการแล้วการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก เป็นการประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียในทางการค้า (รายได้ของผู้เอาประกันภัย) เมื่อธุรกิจต้องหยุดชะงักลง อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน ที่เอาประกันภัยไว้และเป็นทรัพย์สิน ที่มีผลต่อการค้าของ ผู้เอาประกันภัย วัตถุประสงค์ของการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักคือ เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัย กลับสู่สถานะทางการเงินดังเดิม เสมือนหนึ่งมิได้มีอัคคีภัยหรือภัยอื่นๆ ที่เอาประกันภัยเกิดขึ้น
คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก มีความหมายครอบคลุมเพียงใด
   คำว่าธุรกิจหยุดชะงัก หมายถึง การที่โรงงาน/กิจการ ต้องหยุดดำเนินการผลิตชั่วคราวเพื่อรอการซ่อมแซมหรือสร้างโรงงานใหม่ อันเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดต่อทรัพย์สิน
1.             การประกันภัยหยุดชะงัก มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะอย่างไร เหมาะกับสภาพความเสี่ยงแบบใด

   การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักมีแบบเดียว แต่มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปได้แก่
- การประกันภัยกำไร (Profit Insurance)
- การประกันภัยรายได้ธุรกิจ (Business Income Coverage)
- การประกันภัยรายได้ (Income Insurance)
แต่ที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย เช่น
·       การประกันภัยความเสียหายสืบเนื่อง (Consequential Loss Insurance) หมายถึง การประกันภัยความเสียหาย ทางการเงิน ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากความเสียหายทางวัตถุอันเกิดจากภัยที่เอาประกันภัยได้
·       การประกันภัยการสูญเสียกำไร (Loss of Profit Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption Insurance) เป็นคำที่ใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งทั้งสองคำนี้หมายถึงการประกันภัยความเสียหายอันเนื่องมาจาก การหยุดชะงักของธุรกิจจากเหตุการณ์อันไม่อาจ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ เช่น เพลิงไหม้โรงงานเครื่องจักร เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรแล้วทำให้เกิดเพลิงไหม้ เป็นต้น  ดังนั้น ธุรกิจใดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดดังกล่าวข้างต้น จึงควรทำประกันภัยประเภทดังกล่าวนี้
2.             บริษัทประกันภัยใช้ปัจจัยอะไรบ้างในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัย และการกำหนดวงเงิน คุ้มครองจะพิจารณาจากปัจจัยอะไรบ้าง
การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก มี 2 วิธี คือ
3.1 โดยวิธีผลรวม เป็นแบบเดิม
คำนวณจากกำไรสุทธิบวกด้วยภาระผูกพันทางการเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายคงที่หรือค่าใช้จ่ายประจำ (Standing Charges)
จำนวนเงินเอาประกันภัย =
 กำไรสุทธิ

+ ค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องการเอาประกันภัย

+ ภาระผูกพันทางการเงิน
·       กำไรสุทธิ หมายถึง รายได้ที่ขาดหายไปเมื่อเกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ
·        ค่าใช้จ่ายคงที่และภาระผูกพันทางการเงิน เป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยยังคงต้องจ่ายแม้จะไม่มีการผลิตก็ตาม ค่าใช้จ่ายคงที่ ได้แก่ เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่า ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าเสื่อมราคา ค่าสอบบัญชี เป็นต้น
·       ภาระผูกพันทางการเงิน ได้แก่ ดอกเบี้ยจ่าย เป็นต้น
3.2 โดยวิธีผลต่าง เป็นแบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
จำนวนเงินเอาประกันภัย = ยอดขาย (ยอดรายได้) - ต้นทุนขาย - ค่าใช้จ่ายผันแปร
·     ยอดขายหรือยอดรายได้ หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัยได้รับแล้ว หรือมีสิทธิ์จะได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ตามปกติของการดำเนินธุรกิจของผู้เอาประกันภัย ณ. สถานที่ของผู้เอาประกันภัยนั้น
·     ต้นทุนขาย คำนวณได้จาก

สินค้าคงเหลือต้นงวด
บวก 
+สินค้าที่ซื้อเข้ามาระหว่างงวด

+ต้นทุนสินค้าที่มีเพื่อขาย
 หัก
- สินค้าคงเหลือปลายงวด

-ต้นทุนขาย
·       ค่าใช้จ่ายผันแปร ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงาน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะลดลงจากยอดขายหรือจำนวนสินค้าที่ผลิต

ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาอัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก
                อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะแปรผันตามระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period)
                ระยะเวลาของการชดใช้ (Indemnity Period) หมายถึง ระยะเวลาที่ผู้รับประกันภัยผูกพันที่จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้ ผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่เกิดความเสียหายจนถึงวันที่ความเสียหายนั้นหมดไป หรือตามวันสิ้นสุดที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับภัยเนื่องจากผลเสียเมื่อกิจการหยุดชะงัก หรือผลเสียหายเนื่องจากผลกำไร (Business Interruption or Loss of Profit)
กำหนดเป็นมาตรฐานในพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย ดังนี้
ระยะเวลาของการชดใช้
Indemnity Period
คำนวณจากอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัย
Perecentage of Fire Rate
1 เดือน
2 เดือน
3 เดือน
4 เดือน
5 เดือน
6 เดือน
9 เดือน
12 เดือน
18 เดือน
24 เดือน
40% - 50%
50% - 60%
60% - 75%
65% - 95%
75% - 100%
80% - 115%
90% - 130%
205% - 150%
90% - 145%
80% - 125%
 ตัวอย่างเช่น โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งทำประกันอัคคีภัยทรัพย์สินไว้เต็มมูลค่า จำนวนเงินเอาประกันภัย 100 ล้านบาท ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยประกอบด้วย อาคารโรงงาน เครื่องจักรโกดังวัตถุดิบ ไม่มีส่วนลดอุปกรณ์ดับเพลิง อัตราเบี้ยประกันภัยเฉลี่ยตามพิกัดอัตราเบี้ยประกันอัคคีภัยของโรงงานนี้เท่ากับ 0.325% ผู้เอาประกันภัย ได้มีการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก โดยมีระยะเวลาของการชดใช้ 5 เดือน ดังนั้น อัตราเบี้ยประกันภัยสำหรับ การประกันภัยดังกล่าวนี้เท่ากับ

0.325% X (75% - 100%) หรือเท่ากับ 0.24375%-0.325% หรือคิดเป็นเบี้ยประกันภัย 243,750-325,000 บาท
    4.  ภัยประเภทใดที่ การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก ยกเว้นความคุ้มครอง
 4.1 การประกันภัยไม่คุ้มครอง การสูญเสียที่เกิดจากหรือเกิดขึ้นโดยหรือเป็นผลต่อเนื่องจาก
          - การเผาทรัพย์สินโดยคำสั่งของเจ้าหน้าที่บ้านเมือง
          - เพลิงใต้ดิน
         - การระเบิด เว้นแต่ที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์
        - การไหม้ ไม่ว่าโดยอุบัติเหตุหรือโดยการอื่นของป่า พุ่มไม้ ทุ่งหญ้าและการเผาเพื่อปราบพื้นที่
        -ความเสียหายของทรัพย์สินที่เกิดจากการบูดเน่า ความร้อนตามธรรมชาติ หรือการระอุ หรือกรรมวิธีใด         ๆ ซึ่งใช้ความร้อนหรือการทำให้แห้ง
       - การสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อมที่มีสาเหตุ จากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผล       เนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้นโดยวัตถุอาวุธนิวเคลียร์
       - การสูญเสียหรือความเสียหายโดยตรงหรือโดยอ้อม ที่มีสาเหตุจากหรือเกิดขึ้นจากหรือเป็นผลเนื่องมาจากหรือมีส่วนทำให้เกิดขึ้นโดยการแผ่รังสีของละอองกัมมันตรังสี หรือ เปรอะเปรื้อนกัมมันตรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใด ๆ หรือจากกากนิวเคลียร์จากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ การเผาไหม้ให้รวมถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นด้วยตัวเองจากการแตกตัวของนิวเคลียร์ด้วย
 4.2 การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองการสูญเสียใด ๆ ที่มีสาเหตุจากความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยหรือเนื่องจาก หรือเป็นผลมาจากทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม จากปรากฏการณ์ต่อไปนี้
      - แผ่นดินไหว การประทุของภูเขาไฟหรือการสั่นสะเทือนของธรรมชาติ
     - ไต้ฝุ่นเฮอริเคน ทอร์นาโด ไซโคลน หรือการรบกวนอื่น ๆ ทางบรรยากาศ
     - สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างประเทศความเป็นปรปักษ์หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้าย สงคราม(ไม่ว่าจะมีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง
   - การแข็งข้อ ความไม่สงบ การต่อต้านของทหารหรือประชาชน การกบฏ การจลาจล การปฏิวัติ การใช้กำลังทางทหารหรือการแย่งชิงอำนาจ ภาวะประกาศกฎอัยการศึกหรือภาวการณ์เข้าล้อม หรือเหตุการณ์ใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึกหรือภาวการณ์เข้าล้อม
    5. การประกันภัยประเภทนี้มีหลักเกณฑ์และข้อยกเว้นในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน อย่างไรบ้าง
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าสินไหมทดแทน คือ
       - เมื่อมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินแล้วกรมธรรม์ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามความคุ้มครองที่กำหนด
ข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
1.             ผู้รับประกันภัยทรัพย์สินไม่จ่ายหรือไม่ยอมรับชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินนั้น
2.             ความเสียหายเกิดขึ้นจากภัยที่เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงัก แต่ไม่ได้เอาประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สิน
ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำเช่นขณะนี้ ท่านคิดว่าการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักจะช่วยเสริมความมั่นคงแก่ธุรกิจมากน้อยเพียงใด ขอคำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจการประกันภัยประเภทนี้        ในสภาพเศรษฐกิจตกต่ำในขณะนี้ สมควรอย่างยิ่งที่เจ้าของธุรกิจหรือกิจการที่มีการผลิตควรจะทำการประกันภัย ธุรกิจหยุดชะงักไว้ ควบคู่กับการประกันภัยทรัพย์สิน เพราะดังได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเมื่อเกิดความสูญเสียหรือเสียหายขึ้น เช่น การเกิดอัคคีภัย นอกจากทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายจะได้รับการชดใช้แล้ว ขณะที่รอการซ่อมแซมหรือสร้าง โรงงานอาคารใหม่ ผู้เอาประกันภัยก็ยังคงมีรายได้ที่จะประคับประคองธุรกิจต่อไป มีเงินที่จะจ่ายในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่าย ที่ยังคงต้องจ่ายต่อไป เป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้เพราะ ถ้าหากไม่มีการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักดังกล่าวแล้ว เจ้าของธุรกิจหรือกิจการดังกล่าว จะต้องหาเงินมาชดเชย ในส่วนที่ขาดหายไป เช่น รายได้ หรือค่าใช้จ่ายคงที่ที่ยังคงต้องจ่าย ได้แก่ ดอกเบี้ยเงินกู้ ค่าเงินเดือนพนักงาน ค่าสาธารณูปโภค เป็นต้น ซึ่งแต่ก่อนธุรกิจเหล่านี้สามารถทำการกู้ยืมได้จาก สถาบันการเงินต่าง ๆ แต่ในภาวะปัจจุบันที่ค่าเงินตึงตัว สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อลดลงจึงเป็นการยากที่จะทำการกู้ยืมได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจหรือกิจการจึงอาจจะต้องเลิกการผลิต หรือปิดกิจการลง มีผลทำให้เกิดการว่างงานและเป็นผลเสีย ต่อเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้น การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก จึงเข้ามาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องดังกล่าวได้ ในต่างประเทศเคยมีการสำรวจพบว่า เจ้าของโรงงานที่มีการทำประกันภัยเฉพาะทรัพย์สินเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการทำประกันภัยธุรกิจหยุดชะงักนั้น ปรากฏว่ามีเป็นจำนวนมากที่ธุรกิจเหล่านั้นไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  แม้ว่าจะได้รับการชดใช้จากบริษัทประกันภัยภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยทรัพย์สินเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยแล้วก็ตาม

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เราควรปฎิบัติอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน


เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเราจะเป็นคนขับ ผู้โดยสารหรือผู้เห็นเหตุการณ์ เราควรปฎิบัติอย่างไร
1. ถ้าเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ควร เข้าช่วยเหลือคนป่วยเจ็บตามสมควร และเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดี โดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นรถคันหนึ่งชนคนแล้วหนี สิ่งที่เราควรช่วยหลือจับกุมคนที่ทำผิดได้ก็คือพยายามจดทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถที่ชนไว้ได้แล้วรีบแจ้งให้ตำรวจทราบเพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีพลเมืองดีบางท่านถึงกับขับรถตามจับคนขับที่ชนคนแล้วหนีได้ คนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคม
2. ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน
ท่านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียกับข้อ 1. สิ่ง แรกคือท่านจะต้องขอร้องให้คนอื่น หรือตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยชีวิตเขาไว้ก่อน ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาภายหลัง แต่ถ้าเจ็บเล็กน้อยพอยอมความได้ก็ยอมเสีย เพื่อมิให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่จะต้องพยายามขอชื่อหรือจำทะเบียนรถคันที่ชนเราไว้ให้ได้ เพราะถ้าหากผู้ขับขี่เบี้ยวเราภายหลังเราจะได้จัดการเรียกค่าเสียหายได้ตาม กฎหมาย มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าจะไปฟ้องร้องเขาจากใคร ที่ไหน
3. ถ้าท่านเป็นคนขับ
ถ้าท่านเป็นคนขับรถชนกัน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ  อย่า หนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไร ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านเป็นคนดีมีน้ำใจ
หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
1.            ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถ ช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาลเท่าที่จะทำได้
2.            ต้อง ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบไปแจ้งตำรวจที่ใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกตำรวจด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
3.            แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถ แก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
4.            ถ้า ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถที่ขับไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึง ที่สุด
5.            ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามข้อ (1), (2) และ (3) แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือตาย ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
4. ถ้ารถท่านมีประกันท่านตัองรีบติดต่อกับบริษัทประกันของท่านทันที
เพราะบริษัทประกันเขาจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี
5. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อม
เพื่อ จะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือ ที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง
6. ควรช่วยเหลือคนเจ็บหรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต
เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนขับรถ มักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ ความจริงเมื่อเราขับรถชนคนตาย บาดเจ็บ หรือการขับรถโดยประมาทนั้น เรามีความผิดทั้งทางกฎหมายแพ่ง และอาญา
ทางอาญา  เราอาจจะต้องรับโทษติดคุกติดตะราง
ทางแพ่ง  เรา จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับเขาอีก คือติดคุกแล้วยังจะต้องเสียเงินให้กับฝ่ายคนเจ็บ คนตายเขาอีก ทีนี้ถ้าหากเราช่วยเหลือคนเจ็บ หรือใช้ค่าทำศพคนตายแล้ว มีผลดียังไง ตอบได้ว่า มีผลดีมาก ยกตัวอย่างเช่น
เรา ขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาล ต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาล เราก็แถลงต่อศาลว่า เราช่วยเหลือคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมีน้ำใจ ศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ถ้าเราชนแล้วหนี ส่วนมาก ศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ
การ ตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลางให้แก่ผู้ต้องหา จนกว่า ผู้ต้องหา จะพยายาม ตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาแล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บ และการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร

การประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา



การประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา การ ประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา (Student Accident Group Insurance Policy) มีความคล้ายคลึงกับการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะและสายตา ทุพพลภาพถาวร และค่ารักษาพยาบาลตามแบบคุ้มครอง อบ.1
ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ปกครองหรือความรับผิดของ ทางโรงเรียน ถ้าต้องประสบอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ให้ความคุ้มครองขณะศึกษาและประกอบกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนและนอกโรงเรียน พักผ่อนอยู่กับบ้าน เดินทางไป - กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน ทัศนศึกษาเดินทางทางบก
ค่าทดแทน
จ่ายเต็มจำนวนทุกทุนประกัน 100%
- กรณีสูญเสียชีวิต
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 2 ข้าง หรือขา 2 ข้าง หรือตา 2 ข้าง
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 1 ข้าง หรือขา 1 ข้างหรือตา 1 ข้าง 2 อย่างรวมกัน
จ่าย 60% ของทุนประกัน
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 1 ข้าง หรือขา 1 ข้าง หรือตา 1 ข้าง ค่ารักษาพยาบาล
- กรณีที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ บริษัทฯจะชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่ผู้เอาประกันได้จ่ายไปจริงแก่แผน ปัจจุบัน หรือโรงพยาบาลซึ่งเป้นผู้ทำการรักษา ค่ารักษาพยาบาลนี้รวมถึงค่ายาส ค่าห้องพัก ค่าผ่าตัด ค่าเอ็กซเรย์ ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 52 สัปดาห์ นับจากเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่เกินวงเงินรักษาพยาบาลที่เลือกเอาประกันไว้ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
ประกันอุบัติเหตุกลุ่มและประกันนักเรียนนักศึกษาบริการแฟกซ์เคลมทั่วราชอาณาจักร
มากกว่านั้นคือความสะดวกในเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถใช้บริการจาก แฟกซ์เคลมได้ทั่วราชอาณาจักรกับโรงพยาบาลชั้นนำกว่า 300 แห่ง เพียงแสดงบัตรประจำตัวผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองเงินจ่าย
ค่ารักษาพยาบาล