วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การประกันภัยขนส่งทางทะเล

การประกันภัยขนส่งทางทะเล 

สืบเนื่องจากภยันตรายและ ความเสียหายต่อสินค้าที่ทำการขนส่งนั้น สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากสาเหตุต่างๆ ที่บางครั้งเราไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ เช่น ภัยธรรมชาติ อันได้แก่ คลื่น, ลมมรสุม, เครื่องบินตก, ภัยจากการเดินเรือ, ภัยจากการขนถ่ายสินค้า, การปนเปื้อนรั่วไหลของบรรจุภัณฑ์, อัคคีภัย ฯลฯ ดังนั้น การทำประกันภัยการขนส่ง จึงเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าของสินค้าว่า หากทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่นำมาทำประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย ก็จะได้รับการชดใช้ ผู้เอาประกันก็สามารถนำเงินที่ได ้จากบริษัทประกันภัยไปสร้าง, ซื้อ, หรือจัดหาทรัพย์สินใหม่ ทำให้สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  


เหตุใดจึงควรทำประกันการขนส่งกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ   Importer:

1.) ช่วยลดเงินตราที่จะต้องเสียให้แก่ต่างประเทศ
2.) สามารถต่อรองเงื่อนไขความคุ้มครองในอัตราเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่า หรือทัดเทียมกัน เนื่องจากบริษัทประกันภัยต่างประเทศ ไม่ทราบสภาพท่าเรือ และภูมิประเทศของท่านว่าเป็นอย่างไร ดังนั้น ความคุ้มครองที่ได้รับจึงมักจบลงที่ท่าเรือปลายทางที่ระบุชื่อในกรมธรรม์ เท่านั้น
3.) ลดค่าภาษีนำเข้า เนื่องจากการคิดภาษีนำเข้านั้น กรมศุลกากรได้กำหนดให้คิดจากราคา C.I.F ดังนั้น การที่สามารถลดค่าเบี้ยประกันภัยได้ นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยตรงจากการเสียเบี้ยประกันภัยแล้ว ยังสามารถลดค่าภาษีขาเข้าที่คิดจากราคา C.I.F. ที่ลดต่ำลงมาในระดับที่ควรจะเป็น
4.) ในกรณีสินค้าที่เอาประกันภัยไว้เกิดความเสียหายหรือสูญเสีย คุณสามารถติดตามได้โดยตรง กับบริษัทผู้รับประกันภัย สามารถตัดปัญหาเรื่องความล่าช้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ที่มักเกิดขึ้นเสมอในการเอาประกันภัยจากต่างประเทศ เนื่องจากต้องรอการอนุมัติจ่ายเงิน จากผู้รับประกันภัยต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งอาจต้อง ใช้เวลานานหลายๆ เดือน
   Exporter: 
1.) ช่วยลดเงินตราที่จะต้องเสียให้ต่างประเทศ
2.) การขายสินค้าแบบ C.I.F. เมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้าที่ท่านขายไปให้แก่ผู้ซื้อที่ประเทศปลายทาง แม้ว่าท่านจะไม่มีส่วนได้เสียสินค้านั้นแล้วก็ตาม แต่ท่านสามารถช่วยผู้ซื้อติดตาม การเรียกสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อสินค้า รู้สึกประทับใจในบริการ อันจะเป็นผลดีต่อกิจการของผู้ขายในอนาคต
3.) การขายสินค้าแบบ C.I.F. นั้น คุณจะได้รับความคุ้มครองการขนส่งสินค้าตั้งแต่โรงงาน / โกดัง จนถึงการขนสินค้าขึ้นเรือ โดยที่คุณไม่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัย แต่หากคุณขายสินค้าแบบ F.O.B. หรือ C&F คุณจะต้องรับผิดชอบ ความเสี่ยงภัยในช่วงดังกล่าว และหากมีการจัดทำประกันภัย ก็จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
   การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง แบ่งการรับประกันภัยออกเป็น 2 ประเภท   การประกันภัยสินค้า(Marine Cargo Insurance)
         คือ การรับประกันภัยการขนส่งสินค้า ทั้งทางบก, ทางทะเล, ทางอากาศ, และการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ แบ่งออกแป็น
1.1  การประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ (Inland Transit)
1.2  การประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (Overseas)
ซึ่งมีเงื่อนไข ความคุ้มครองให้เลือกตาม ความเหมาะสม
ก. เงื่อนไข Institute Cargo Clauses (A)
ข. เงื่อนไข Institute Cargo Clauses (B)
ค. เงื่อนไข Institute Cargo Clauses (C)

การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง
  • ภัยขนส่งสินค้าในประเทศ (INLAND INSURANCE)
    รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งคือ รถบรรทุก 6 ล้อ, รถบรรทุก 10 ล้อ, รถเทรลเลอร์ เรือฉลอม เรือโป๊ะ และเครื่องบินพาณิชย์
  • ภัยทางทะเล (CARGO INSURANCE)
    รับประกันภัยสินค้าหรือทรัพย์สิน ในระหว่างการขนส่งจากผู้ขายในประเทศหนึ่งไปยังผู้ซื้อในอีกประเทศหนึ่ง โดยทางเรือเดินสมุทร เครื่องบินพาณิชย์ หรือทางพัสดุไปรษณีย์
  • ภัยตัวเรือ (HULL INSURANCE)
    รับประกันภัยคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายของโครงสร้างตัวเรือรวมถึงเครื่องจักรอุปกรณ์ต่าง ๆ
    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
    1. ประเภทไม่มีเครื่องจักร
    2. ประเภทที่มีเครื่องจักรหรือกำลังขับเคลื่อนเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น