วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การประกันภัยการขนส่งสินค้า


การประกันภัยการขนส่งสินค้า
กรมธรรม์ประกันภัยให้ความคุ้มครองใน ระหว่างการขนส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ต่อความสูญเสีย และความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง ไม่ว่าโดยทางเรือ ทางอากาศ หรือ
ทางบก ทั้งนี้การประกันภัยประเภทนี้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้ธุรกิจการค้าต่างๆ
ขยายตัวไปทั่วโลกการประกันภัยการขนส่งสินค้า แบ่งออกเป็น
ก. การประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ข. การประกันภัย การขนส่งสินค้าภายในประเทศ
ก. การประกันภัยการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
ผู้เอาประกันภัยการขนส่งสินค้า
1. ผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ (Exporters)
2. ผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (Importers)
สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ แบ่งออกเป็น
1. FOB (Free on Board)
ผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าจนถึงเรือเดินสมุทรที่ประเทศต้นทาง  หลังจากนั้นแล้วความเสี่ยง
ต่างๆ จะถูกโอนไปยังผู้ซื้อสินค้ารวมถึงจัดทำประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วย นอกจากนั้น
ผู้ซื้อสินค้ายังจะต้องชำระค่าระวางเรือเดินสมุทรเอง
2. C & F (Cost and Freight)
เป็นสัญญาการขายซื้อขายเหมือนกับ FOB เพียงแต่ผู้ขายมีหน้าที่เพิ่มเติมในการชำระค่าระวาง
เรือจนสินค้าเดินทางถึงจุดหมายปลายทาง ผู้ซื้อสินค้ามีหน้าที่ในการจัดหาประกันภัยการขนส่ง
สินค้าทางทะเล
3. CIF (Cost, Insurance and Freight)
ผู้ขายสินค้ามีหน้าที่รับผิดชอบทุกอย่างรวมทั้งการจัดหาประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลจน
สินค้ามีการส่งมอบที่จุดหมายปลายทาง ดังนั้น
- ในกรณีการซื้อขายแบบ CIF ผู้ส่งออกมีหน้าที่ในการจัดทำประกันภัยการขนส่งสินค้า
ทางทะเล
- ในกรณีการซื้อขายแบบ FOB และ C&F ผู้นำเข้ามีหน้าที่ในการจัดทำประกันภัยการขนส่ง
สินค้าทางทะเล
มาตรฐานความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันมีเงื่อนไขความคุ้มครอง 3 แบบ จากความคุ้มครองแคบที่สุดไปหาความคุ้มครองที่กว้างที่สุด ดังนี้
- Institute Cargo Clauses - ICC ( C )
- Institute Cargo Clauses - ICC ( B )
- Institute Cargo Clauses - ICC ( A )
ความคุ้มครองตารางเปรียบเทียบความคุ้มครองตามเงื่อนไข
ICC ( C ), ICC ( B ) และ ICC ( A )
ภัยที่คุ้มครอง
เงื่อนไข
C
เงื่อนไข
B
เงื่อนไข
A
เพลิงไหม้ ระเบิด
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
เรือเกยตื้น,ล่ม,จม หรือตะแคง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ยานพาหนะทางบกพลิกคว่ำหรือตกจากราง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ยานพาหนะหรือเรือ ชนหรือปะทะกับวัตถุอื่นใด
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
การขนส่งลงจากเรือ ณ ท่าหลบภัย
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
สินค้าถูกโยนทิ้งทะเลในขณะเรือประสบภัย(Jettison)
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ความเสียหายหรือสูญเสียของส่วนรวม
(General Average)
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ความเสียหายเกิดจากการปกป้องหรือลดความเสียหาย
ของสินค้า (Sue and Labour Charges)
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ค่าจัดส่งสินค้าต่อไปยังจุดมุ่งหมายปลายทาง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
คุ้มครอง
แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟระเบิด หรือฟ้าผ่า
ไม่
คุ้มครอง
คุ้มครอง
สินค้าถูกคลื่นซัดตกเรือไป
ไม่
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ความเสียหายจากน้ำทะเลหรือแม่น้ำ,ทะเลสาบ
ไม่
คุ้มครอง
คุ้มครอง
สินค้าทั้งหีบห่อเสียหายโดยสิ้นชิงเพราะตกจากเรือ
หรือจากการขึ้นลง หรือเปลี่ยนถ่ายเรือ หรือยานพาหนะ
ไม่
คุ้มครอง
คุ้มครอง
ความสูญเสียหรือเสียหายอื่นๆ ต่อทรัพย์สินที่เอา
ประกันภัย อันเกิดจากภัย ทุกอย่างที่มีสาเหตุจาก
ภายนอก และเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมาย
ไม่
ไม่
คุ้มครอง
 ข้อยกเว้น
ตารางเปรียบเทียบข้อยกเว้นตามเงื่อนไข
ICC ( C ), ICC ( B ) และ ICC ( A )
ข้อยกเว้น
เงื่อนไข
C
เงื่อนไข
B
เงื่อนไข
A
สาเหตุจากข้อเสียในตัวเอง หรือลักษณะอันเป็นธรรมชาติ
แห่งการประกันภัยนั้นเอง สาเหตุจากการล่าช้า ถึงแม้ว่า
การล่าช้านั้นจะเกิดจากภัยที่คุ้มครองก็ตาม
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การกระทำมิชอบโดยจงใจของผู้เอาประกันภัย
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การกระทำมิชอบโดยเจตนาของบุคคลอื่น
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การรั่วไหลไปตามปกติ
ยกเว้น
ยกเว้น
คุ้มครอง
ปริมาณหรือน้ำหนักขาดหายไปตามปกติหรือการสึกกร่อน
ตามปกติของวัตถุแห่งการประกันภัยนั้น
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การล้มละลายหรือไม่สามารถใช้หนี้สินของเจ้าของเรือ
หรือผู้จัดการเรือ ผู้เช่าเหมาเรือ หรือผู้ดำเนินการเรือ
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การบรรจุหีบห่อ หรือการจัดเตรียมหีบห่อที่ไม่เพียงพอไม่
เหมาะสมรวมตลอดถึงการจัดวางในตู้ลำเลียงหรือตู้ยก
โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยก่อน
การประกันภัยนี้จะมีผลบังคับ
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
ความไม่พร้อมสมบูรณ์ของเรือ ยาน ยานพาหนะ ตู้ยก ตู้
ลำเลียง โดยที่ผู้เอาประกันภัย และลูกจ้างผู้เอาประกันภัย
ทราบดี
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
การใช้อาวุธสงคราม ซึ่งเกี่ยวกับปรมาณู หรือการแตกตัว
ของนิวเคลียร์และหรือ การรวมตัวหรือเกิดปฏิกิริยาอื่นๆ
อันคล้ายกับมีกำลังหรือสารที่มีอำนาจแผ่รังสีได้
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
**10. ภัยสงคราม (WAR)
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น
**11. ภัยจลาจล ภัยนัดหยุดงาน การก่อความไม่สงบ (SRCC)
ยกเว้น
ยกเว้น
ยกเว้น

หมายเหตุ ** ภัยสงคราม ภัยจลาจลนัดหยุดงาน และการก่อความไม่สงบ เป็นข้อยกเว้น
ซึ่งปกติกรมธรรม์ประกันภัยจะขยายความคุ้มครองให้ แต่ทั้งนี้อาจไม่ขยายความคุ้มครองไปให้
ในกรณีน่านน้ำของประเทศนั้นมีภัยสงคราม
เอกสารจำเป็นสำหรับประกอบการจัดทำกรมธรรม์ประกัน

กรณีส่งออก
1. ใบกำกับสินค้า INVOICE / ใบบรรจุหีบห่อ PACKING LIST
2. ใบตราส่ง BILL OF LADING (B/L) หรือ AIRWAY BILL
3. แอล.ซี. LETTER OF CREDIT (L/C)
กรณีนำเข้า
1. ใบเสนอราคา PROFORMA INVOICE
2. แอล.ซี. LETTER OF CREDIT (L/C)

ข.การประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ
"การขนส่งสินค้าไม่ว่าใกล้หรือไกล ย่อมสร้างความห่วงใยแก่เจ้าของ"
การขนส่งสินค้าเป็นขั้นตอนหนึ่งของการนำสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค ในช่วงระหว่างการขนส่งสินค้าอาจเกิดเหตุที่ไม่คาดฝัน วิธีการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ท่านคลายความกังวลหรือความห่วงใยที่มีต่อสินค้า รวมทั้งบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น คือการทำประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ความคุ้มครองความเสียหายหรือความสูญเสียโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย ที่มีสาเหตุมาจาก
1.1 อัคคีภัย ภัยระเบิด หรือฟ้าผ่า
1.2 ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งประสบอุบัติเหตุชนหรือโดนกับยานพาหนะอื่น หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดนอกยานพาหนะ
1.3 เรือจมหรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถพลิกคว่ำหรือรถไฟตกราง
1.4 ภัยเพิ่มพิเศษที่ได้ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น