วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เราควรปฎิบัติอย่างไรเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน


เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน ไม่ว่าเราจะเป็นคนขับ ผู้โดยสารหรือผู้เห็นเหตุการณ์ เราควรปฎิบัติอย่างไร
1. ถ้าเป็นผู้เห็นเหตุการณ์
ควร เข้าช่วยเหลือคนป่วยเจ็บตามสมควร และเราจะต้องแสดงตัวเป็นพลเมืองดี โดยยินดีที่จะเป็นพยานในคดีให้ สมมุติว่าเราเห็นรถคันหนึ่งชนคนแล้วหนี สิ่งที่เราควรช่วยหลือจับกุมคนที่ทำผิดได้ก็คือพยายามจดทะเบียนรถ ชื่อยี่ห้อ สีรถที่ชนไว้ได้แล้วรีบแจ้งให้ตำรวจทราบเพื่อติดตามจับกุมต่อไป มีพลเมืองดีบางท่านถึงกับขับรถตามจับคนขับที่ชนคนแล้วหนีได้ คนประเภทนี้ควรได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดีมีประโยชน์ต่อสังคม
2. ถ้าท่านเป็นคนเจ็บเพราะรถชน
ท่านจะต้องปฏิบัติเช่นเดียกับข้อ 1. สิ่ง แรกคือท่านจะต้องขอร้องให้คนอื่น หรือตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยชีวิตเขาไว้ก่อน ส่วนเรื่องคดีนั้นเอาไว้พิจารณาภายหลัง แต่ถ้าเจ็บเล็กน้อยพอยอมความได้ก็ยอมเสีย เพื่อมิให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ แต่จะต้องพยายามขอชื่อหรือจำทะเบียนรถคันที่ชนเราไว้ให้ได้ เพราะถ้าหากผู้ขับขี่เบี้ยวเราภายหลังเราจะได้จัดการเรียกค่าเสียหายได้ตาม กฎหมาย มิฉะนั้นแล้วจะไม่รู้ว่าจะไปฟ้องร้องเขาจากใคร ที่ไหน
3. ถ้าท่านเป็นคนขับ
ถ้าท่านเป็นคนขับรถชนกัน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ  อย่า หนีเป็นอันขาด เพราะความผิดฐานขับรถประมาทนั้นไม่ใช่เรื่องเจตนา ผู้กระทำผิดไม่ใช่อาชญากร โทษก็ไม่มากมายอะไร ควรจะอยู่เพื่อต่อสู้กับความจริง มิฉะนั้นท่านจะต้องหลบหนีนานถึง 15 ปี ถ้าท่านขับรถชนคนตาย แต่ถ้าท่านมอบตัวสู้คดี บางทีท่านก็ไม่มีความผิด หรือมีความผิดศาลก็ปรานีลดโทษให้ ถ้าท่านเป็นคนดีมีน้ำใจ
หน้าที่ของคนขับรถเมื่อเกิดรถชนกันนั้น กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้
1.            ต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควร เช่น ขับรถชนคนก็ต้องหยุดรถ ช่วยเหลือคนที่ถูกชน นำส่งโรงพยาบาลเท่าที่จะทำได้
2.            ต้อง ไปแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ใกล้เคียงทันที คือต้องรีบไปแจ้งตำรวจที่ใกล้เคียงทันที แต่ต้องบอกตำรวจด้วยว่าเราเป็นคนขับรถอะไร
3.            แจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่หมายเลขทะเบียนรถ แก่ผู้ได้รับความเสียหายด้วย
4.            ถ้า ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ กฎหมายให้สันนิฐานว่าเป็นผู้กระทำผิด และตำรวจมีอำนาจยึดรถที่ขับไว้จนกว่าจะได้ตัวผู้ขับขี่หรือจนกว่าคดีจะถึง ที่สุด
5.            ถ้าคนขับคนใดไม่ปฏิบัติตามข้อ (1), (2) และ (3) แล้วจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าคนที่ถูกชนบาดเจ็บสาหัสหรือตาย ต้องจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท
4. ถ้ารถท่านมีประกันท่านตัองรีบติดต่อกับบริษัทประกันของท่านทันที
เพราะบริษัทประกันเขาจะมีเจ้าหน้าที่มาตามที่เกิดเหตุ พร้อมทำแผนที่เกิดเหตุไว้พร้อมมูลเพื่อเอาไว้ต่อสู้คดี
5. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปหรือหากล้องถ่ายรูปใกล้ที่เกิดเหตุได้ต้องรีบถ่ายรูปรถ และที่เกิดเหตุไว้ให้พร้อม
เพื่อ จะได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการต่อสู้คดีต่อไป และหากมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปอเต็กตึ้งหรือมูลนิธิร่วมกตัญญูถ่ายภาพศพหรือ ที่เกิดเหตุไว้ ก็ให้ติดต่อขอภาพที่ถ่ายเก็บไว้ให้ได้ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่รูปคดีในภายหลัง
6. ควรช่วยเหลือคนเจ็บหรือค่าทำศพของผู้เสียชีวิต
เรื่อง นี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ คนขับรถ มักไม่ค่อยเห็นประโยชน์ ของการช่วยเหลือเหล่านี้ ความจริงเมื่อเราขับรถชนคนตาย บาดเจ็บ หรือการขับรถโดยประมาทนั้น เรามีความผิดทั้งทางกฎหมายแพ่ง และอาญา
ทางอาญา  เราอาจจะต้องรับโทษติดคุกติดตะราง
ทางแพ่ง  เรา จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย ค่าบาดเจ็บ ค่าทำศพให้กับเขาอีก คือติดคุกแล้วยังจะต้องเสียเงินให้กับฝ่ายคนเจ็บ คนตายเขาอีก ทีนี้ถ้าหากเราช่วยเหลือคนเจ็บ หรือใช้ค่าทำศพคนตายแล้ว มีผลดียังไง ตอบได้ว่า มีผลดีมาก ยกตัวอย่างเช่น
เรา ขับรถชนคนบาดเจ็บไปโรงพยาบาล ต่อมาอัยการฟ้องเราต่อศาล เราก็แถลงต่อศาลว่า เราช่วยเหลือคนเจ็บส่งโรงพยาบาล ส่วนมาก ศาลจะเห็นว่า เราเป็นคนดีมีน้ำใจ ศาลก็อาจจะรออาญาให้เราโดยไม่จำคุกเรา แต่ถ้าเราชนแล้วหนี ส่วนมาก ศาลมักจะจำคุกเราเลย เพราะเห็นว่าเราเป็นคนแล้งน้ำใจ
การ ตกลงใช้ค่าเสียหายให้คนเจ็บก็มีประโยชน์มากยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่พยายามตกลงใช้ค่าเสียหายให้กับคนเจ็บ ตำรวจเขาจะมีระเบียบไว้ว่า ไม่ให้คืนรถของกลางให้แก่ผู้ต้องหา จนกว่า ผู้ต้องหา จะพยายาม ตกลงกับฝ่ายผู้เสียหาย และถ้าหาก เราชดใช้ค่าเสียหาย จ่ายค่าทำศพให้เขา คดีแพ่งก็ระงับ เพราะถือว่า ยอมความคดีแพ่งกันแล้ว จะฟ้องเรียกค่าเสียหายเราในทางแพ่งไม่ได้อีกแล้ว และถ้าเราถูกฟ้อง คดีอาญาต่อศาล ผู้เสียหาย จะมาแถลงต่อศาลว่า เราได้ชดใช้ค่าเสียหายให้เขาแล้ว ส่วนมากแล้ว ศาลจะปรานีจำเลย โดยตัดสินให้รออาญาแก่จำเลย เห็นหรือยังว่า การช่วยเหลือคนเจ็บ และการมีน้ำใจนั้นดีอย่างไร

การประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา



การประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา การ ประกันภัยอุบัติเหตุนักเรียน นิสิต นักศึกษา (Student Accident Group Insurance Policy) มีความคล้ายคลึงกับการประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะและสายตา ทุพพลภาพถาวร และค่ารักษาพยาบาลตามแบบคุ้มครอง อบ.1
ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ปกครองหรือความรับผิดของ ทางโรงเรียน ถ้าต้องประสบอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึง ให้ความคุ้มครองขณะศึกษาและประกอบกิจกรรมต่างๆในโรงเรียนและนอกโรงเรียน พักผ่อนอยู่กับบ้าน เดินทางไป - กลับระหว่างบ้านและโรงเรียน ทัศนศึกษาเดินทางทางบก
ค่าทดแทน
จ่ายเต็มจำนวนทุกทุนประกัน 100%
- กรณีสูญเสียชีวิต
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 2 ข้าง หรือขา 2 ข้าง หรือตา 2 ข้าง
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 1 ข้าง หรือขา 1 ข้างหรือตา 1 ข้าง 2 อย่างรวมกัน
จ่าย 60% ของทุนประกัน
- กรณีอุบัติเหตุสูญเสียแขน 1 ข้าง หรือขา 1 ข้าง หรือตา 1 ข้าง ค่ารักษาพยาบาล
- กรณีที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากอุบัติเหตุ บริษัทฯจะชดเชยค่ารักษาพยาบาลให้ตามที่ผู้เอาประกันได้จ่ายไปจริงแก่แผน ปัจจุบัน หรือโรงพยาบาลซึ่งเป้นผู้ทำการรักษา ค่ารักษาพยาบาลนี้รวมถึงค่ายาส ค่าห้องพัก ค่าผ่าตัด ค่าเอ็กซเรย์ ซึ่งเกิดขึ้นภายใน 52 สัปดาห์ นับจากเกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่เกินวงเงินรักษาพยาบาลที่เลือกเอาประกันไว้ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง
ประกันอุบัติเหตุกลุ่มและประกันนักเรียนนักศึกษาบริการแฟกซ์เคลมทั่วราชอาณาจักร
มากกว่านั้นคือความสะดวกในเรื่องค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สามารถใช้บริการจาก แฟกซ์เคลมได้ทั่วราชอาณาจักรกับโรงพยาบาลชั้นนำกว่า 300 แห่ง เพียงแสดงบัตรประจำตัวผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองเงินจ่าย
ค่ารักษาพยาบาล

วิธีปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยการก่อสร้าง


วิธีปฏิบัติในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การประกันภัยการก่อสร้าง
1.
แจ้งให้บริษัทฯ ทราบทันที
2.
ตรวจสอบสภาพความเสียหายของทรัพย์สิน
3.
แจ้งความต่อสถานีตำรวจประจำท้องที่ พร้อมทั้งขอถ่ายสำเนาบันทึกประจำวัน (กรณีทรัพย์สินสูญหาย)
4.
คงสภาพความเสียหายของทรัพย์สินไว้ รวมทั้งหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริษัทฯ เข้าตรวจสอบ
5.
กรณีจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายทรัพย์สินที่เสียหาย ให้ถ่ายรูปสภาพแวดล้อมและทรัพย์สินที่เสียหายไว้
6.
หากเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินหรือต่อบุคคลภายนอก ไมควร่ตกลงชดใช้ค่าเสียหายก่อนได้รับความเห็นชอบจากบริษัทฯ

เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
1.
รายการทรัพย์สินที่เสียหายหรือสูญหาย
ในกรณีสูญหายจากการลักขโมย หรือก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ให้ระบุเจ้าของทรัพย์สินด้วย
ในกรณีบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงาน ให้ระบุ รายละเอียดของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ/เสียชีวิต
2.
วัน เวลา และสถานที่เกิดเหตุ
3.
รายงานเหตุการณ์ และสาเหตุแห่งความเสียหาย
4.
ผู้รับผิดชอบในขณะเกิดเหตุการณ์ความเสียหาย
5.
กรมธรรม์ประกันภัยชนิดอื่นที่คุ้มครอง (ถ้ามี)
กรณีเกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุในการทำงาน
6.
สัญญาจ้างงาน และสัญญามูลค่างานทั้งหมด
7.
แผนผังหรือแบบแปลน
8.
ใบประเมินราคาค่าเสียหาย หรือค่าซ่อมแซม
9.
เอกสารแสดงวันและเวลาที่ทำการทดสอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ทำการติดตั้ง
กรณีทรัพย์สินสูญหายจากการลักขโมย
10.
สถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินที่สูญหาย
11.
สำเนาบันทึกประจำวันตำรวจ และรายงานการตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
12.
เอกสารใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของเข้าหน่วยงาน หรือเอกสารอื่น ๆ ที่สามารถตรวจสอบความสูญหายได้
กรณีเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก
13.
หนังสือเรียกร้องความเสียหายจากเจ้าของทรัพย์สิน
14.
หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนรถยนต์
15.
ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซม หรือเอกสารแสดงราคาค่าเสียหาย
16.
ใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับเงิน ในกรณีที่จ่ายค่าเสียหายให้แก่เจ้าของทรัพย์สินไปแล้ว
กรณีบุคคลภายนอกได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
17.
หนังสือเรียกร้องความเสียหายจากบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
18.
หลักฐานส่วนตัวของผู้ที่รับได้บาดเจ็บ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน
19.
ใบเสร็จรับเงิน หรือใบรับเงินค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
20.
ภาพถ่ายของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และจุดที่ได้รับบาดเจ็บ

ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเสียหายส่วนแรก


ข้อกำหนดเกี่ยวกับความเสียหายส่วนแรก มีดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นต้องขออธิบายความหมายของคำว่าความเสียหายส่วนแรกให้ ทราบก่อน ตามคำจำกัดความในกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แบบใหม่ ให้ความหมายความเสียหายส่วนแรกไว้ว่า ความเสียหายส่วนแรก หมายถึงจำนวนเงินค่าความเสียหายในแต่ละครั้งที่ผู้เอาประกันภัยตกลงรับ ผิดชอบเองในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจากอุบัติเหตุจากรถ
ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ
สำหรับ เจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และ มีความระมัดระวังในการขับรถอาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์ สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขในสัญญา
ความเสียหายส่วนแรกในกรณีผิดสัญญา
กรณีกรมธรรม์แบบระบุชื่อ  แต่บุคคลอื่นขับขี่และเป็นฝ่ายต้องรับผิดชอบ ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกต่อความเสียหายดังนี้

***6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
***2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
กรณีใช้รถผิดประเภท

เช่น นำรถส่วนบุคคลไปรับจ้าง ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก

ประกันภัยก่อสร้าง


การประกันภัยนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดหรือบรรเทาความ เสี่ยงที่เกิดขึ้นโนโครงการก่อสร้างๆได้ โดยเป็นการถ่ายโอนความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงในงานก่อสร้างให้กับบริษัท ประกันภัย ด้วยการที่ผู้เอาประกันจะต้องจากเบี้ยประกันในอัตราที่ตกลงกันไว้ ซึ่งการจัดการด้านประกันภัยในแต่ละโครงการนั้นขึ้นอยู่กับรูปแบบการทำสัญญา จ้างของโครงการก่อสร้างนั้น และวิศวกรโครงการของเจ้าของงานจะต้องควรคำนึงถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้
- เจ้าของโครงการต้องตรวจสอบว่าผู้ทำการก่อสร้างทุกรายได้ทำประกันภัยจริงนับ ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ เพราะผู้ทำการก่อสร้างบางรายอาจไม่เห็นความสำคัญของการทำประกันภัย และเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแล้วก็จะมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน
- ผู้ทำการก่อสร้างทุกรายควรทำประกันภัยกับบริษัทประกันบริษัทเดียวกัน หรือหลายบริษัทแต่ต้องจัดประกันภัยแบบประกันภัยร่วม โดยมีเงื่อนไขเหมือนกันทุกประการ เพราะเมื่อเกิดความเสียหายแล้วจะได้ไม่เกิดกรณีที่บริษัทประกันบริษัทหนึ่ง ปฎิเสธความรับผิดชอบว่าเป็นของอีกบริษัทหนึ่ง
ดังนั้นเจ้าของโครงการจึงควรวางแผนเรื่องการประกันภัยไว้ตั้งแต่เริ่มดำเนิน โครงการว่าจะทำประกันภัยกับบริษัทใดและด้วยวิธีใด โดยทั่วไปกรมธรรม์ที่ใช้ในการประกันภัยจะมี 2 ลักษณะ คือ
1.กรมธรรม์ที่รับประกันภัยตามภัยที่ระบุ
2. กรมธรรม์เสี่ยงภัยทุกชนิด


1. กรมธรรม์ที่รับประกันภัยตามภัยที่ระบุ (Named Perils Policy)

กรมธรรม์ประเภทนี้จะคุ้มครองความสูญเสีย (loss) หรือความเสียหาย (damage) ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์เท่านั้น ความเสียหายใดๆที่เกิดนอกจากภัยที่ระบุไว้นั้นผู้เอาประกันจะไม่ได้รับความ คุ้มครอง ตัวอย่าง กรมธรรม์ลักษณะนี้ได้แก่ กรมธรรม์ประกันอัคคีภัย

2. กรมธรรม์เสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks Policy)

กรมธรรม์ประเภทนี้จะไม่ระบุว่าคุ้มครองอะไร แต่จะระบุว่าไม่คุ้มครองอะไร ซึ่งจะปรากฎอยู่ในรายการที่ยกเว้นของกรมธรรม์ ซึ่งในการทำงานก่อสร้างส่วนใหญ่จะใช้กรมธรรม์ชนิดนี้ โดยเรียกว่า กรมธรรม์เสี่ยงภัยสำหรับผู้ทำการก่อสร้าง (Contractors All Risks Insurance : C.A.R.) โดยมีรายการที่จะเอาประกันกับบริษัทผู้รับประกันได้ตามรายการที่ระบุไว้ใน กรมธรรม์มาตรฐาน ดังนี้
หมวดที่ 1งานวิศวกรรมโยธาและอาคาร 

ซึ่งประกอบด้วย

           1.1 งานก่อสร้างตามสัญญา (งานถาวรและงานชั่วคราวรวมทั้งบรรดาวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง) ความสูญเสียหรือเสียหายด้วยอุบัติเหตุอันคาดไม่ถึง ด้วยสาเหตุใดก็ตามอันอยู่นอกเหนือข้อยกเว้นซึ่งได้ระบุ ไว้โดยเฉพาะข้างล่างนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้ใหม่ซึ่งทรัพย์สินนั้นแล้ว บริษัทผู้เอาประกัน จะชดใช้ค่าสินไหมให้แก่ผู้เอาประกัน เพื่อทดแทนความสูญเสียหรือความเสียหายทั้งสินนั้น ในวงเงินไม่เกินแต่ละรายการที่ได้ระบุไว้ในตารางแห่งกรมธรรม์ประกันภัยนั้น รายการที่อยู่ในข้อยกเว้นที่จะไม่ได้รับการคุ้มครองในการประกันภัยจะระบุไว้ แน่ชัดในกรมธรรม์ประกันภัยในหมวดนี้ ซึ่งรายการที่ยกเว้นไม่ได้รับการคุ้มครองมีดังต่อไปนี้
1.1.1 ความวินาศหรือเสียหายเนื่องจากการออกแบบผิด
1.1.2 การบำรุงรักษาตามปกติวิสัย
1.1.3 ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนทดแทน ซ่อมแซม หรือแก้ไขความบกพร่อง และ/หรือ คุณภาพของงาน แต่ข้อยกเว้นนี้จำกัดใช้บังคับเพียงรายการที่ได้รับความเสียหายโดยตรงและจะ ไม่ถือให้รวมถึงความวินาศหรือเสียหายต่อรายการที่ได้สร้างโดยถูกต้อง แต่ได้รับความเสียหายอันเป็นผลจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเนื่องจากความ บกพร่องของวัสดุ และ/หรือคุณภาพของงานดังกล่าว
1.1.4 ความสึกหรือกร่อนเป็นสนิมผุพัง ความเสื่อมเนื่องจากไม่ได้ใช้งานและอยู่ในสภาพดินฟ้าอากาศปกติ
1.1.5 การชำรุดหรือขัดข้องในด้านกลไกและหรือด้านไฟฟ้าของโรงจักรและเครื่องจักรกลที่ใช้ในการก่อสร้าง
1.1.6 ความวินาศหรือความเสียหายต่อยวดยานที่สามารถจดทะเบียนเพื่อใช้บนถนนทั่วไป หรือยานน้ำ หรือ อากาศยาน
1.1.7 การสูญเสียหรือการเสีบหายซึ่งได้เกิดขึ้นกับเอกสารแบบรูป สมุดบัญชี เงินตรา ดวง ไปรษณียากร โฉโหนด หลักฐานหนี้สิน ตั๋วแลกเงินต่างๆ หลักทรัพย์หรือเช็คธนาคาร
1.1.8 ความวินาศหรือสูญหายซึ่งพบขณะทำการตรวจนับจำนวนรายการสิ่งของเข้าบัญชี เมื่อพิจารณารายการและข้อยกเว้นในหมวดรายการวิศวกรรมโยธาและอาคารนี้แล้ว เป็นที่เข้าใจได้ว่าความเสียหายหรือความสูญเสียอันเนื่องมาจากไฟไหม้ ได้รับการ คุ้มครองในหมวดนี้ด้วย


             1.2 จำนวนเงินที่เอาประกัน มักจะเท่ากับจำนวนเงินตามสัญญาหรือค่างานที่กำหนดไว้ ส่วนในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกัน ในกรมธรรม์จะกำหนดจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองหรือความรับ ผิดส่วนแรก (deductible) เป็นจำนวนเงินที่แน่นอนไว้ จาก สาเหตุดังต่อไปนี้
1.2.1 งานก่อสร้างตามสัญญาและเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้าง สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งและทุกครั้ง ซึ่งสาเหตุแห่งความสูญเสียหรือความเสียหายเกิดจาก
1.แผ่นดินไหว พายุใหญ่ พายุเฮอริเคนพายุหมุนดินทรุดดินทลายเลื่อน ดินพัง และความเสียหายจากน้ำในลักษณะใดๆ
1.2.2 เครื่องจักรกลที่ใช้ในการก่อสร้าง สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ละครั้งและ ทุกครั้ง ซึ่งยังความสูญเสียหรือความเสียหายอันเกิดจาก
1. แผ่นดินไหว พายุใหญ่ พายุเฮอริเคน พายุหมุน ดินทรุด ดินทลายเลื่อน ดินพัง และความเสียหายจากน้ำในลักษณะใดๆ
2. สาเหตุอื่นใดก็ตาม
จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง (ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์) เช่น จากสาเหตุที่ 1. และสาเหตุที่ 2 ของหัวข้อ 1.2.1 ถ้าระบุไว้ 10,000 บาท และ 4,000 บาท ตามลำดับนั้น หมายถึง ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเมื่อเกิดความสูญเสียหรือเสียหายแก่รายการที่ ประกันในจำนวนเงินที่ระบุเอง ส่วนความสูญเสียหรือเสียหายที่เกินกว่านั้น บริษัทผู้รับประกันเป็นผู้จ่ายทดแทนตามสัญญาในกรมธรรม์
หมวดที่ 2การติดตั้งเครื่องจักรกล รายการนี้ประกอบด้วย

2.1 ทรัพย์สินที่จะติดตั้งขึ้นซึ่งรวมทั้งค่าระวางขนส่ง ค่าภาษีศุลกากร และค่าธรรมเนียมต่างๆ ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการติกตั้ง
2.2 เครื่องจักรกลและเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง
2.3 การขนย้ายซากปรักหักพัง
จำนวนเงินที่เอาประกันจะกำหนดโดยเงื่อนไขสัญญาหรือที่เจ้าของหรือผู้ สร้างกำหนดขึ้นการชดใช้สินไหมทดแทนของบริษัทผู้รับประกันในกรณีที่มีการสูญ เสียหรือเสียหายขึ้นจะจ่ายในจำนวนที่เกินจากจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัย ต้องรับผิดชอบเอง ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เท่านั้น และจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองจะระบุไว้ท้ายรายการประกัน ภัยดังต่อไปนี้
(ก) ในเรื่องทรัพย์สินที่จะติดตั้งขึ้น สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้ง และทุกครั้งซึ่งเหตุ แห่งความสูญเสียหรือความเสียหายเกิดขึ้น
- ในระหว่างการติดตั้ง
- ในระหว่างการทดสอบ
(ข) ในเรื่องเครื่องจักรกลและเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ละครั้ง และทุกครั้งซึ่งยังความสูญเสียหรือความเสียหาย ไม่ว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม
หมวดที่ 3 ความรับผิดชอบต่อบุคคลที่รายการเอาประกันภัยนี้ประกอบด้วย
3.1 วงเงินจำกัดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายเนื่องจากอุบัติเหตุแต่ละครั้งหรืออุบัติเหตุ ต่อเนื่องซึ่งเกิดขึ้นจากเหตุการณ์เดียวกันสำหรับ
3.1.1 การบาดเจ็บทางร่างกาย
3.1.2 ความเสียหายทางทรัพย์สิน
3.2 รวมวงเงินจำกัดค่าสินไหมทดแทนความเสียหายทั้งสิ้น ภายใต้การคุ้มครองแห่งกรมธรรม์ ประกันภัยมาตรฐานนี้ ไม่จำกัดครั้ง จำนวนเงินที่เอาประกันทั้งสองรายการในข้อ 3.1 นี้จะกำหนดไว้ในเงื่อนไขประกวดราคาหรือตาม ที่เจ้าของหรือผู้สร้างกำหนดขึ้นตามความเหมาะสม ส่วนเงื่อนไขในการชดใช้สินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ จะกำหนดจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเองไว้แน่ชัด จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งและทุกครั้ง สำหรับ
(ก) การบาดเจ็บทางร่างกายหรือมรณกรรม สาเหตุนี้ผู้เอาประกันไม่ต้องมีความรับผิดส่วนแรก (deductible)
(ข) ความสูญเสียหรือความเสียหายในทรัพย์สิน ซึ่งจะระบุจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันต้องรับผิดส่วน ส่วนแรก สำหรับสาเหตุอื่นใดไว้จำนวนหนึ่งและอีกจำนวนหนึ่งสำหรับสาเหตุเนื่องจากแรงสั่น สะเทือนหรือการเคลื่อนย้ายหรือทำให้สิ่งค้ำจุนอ่อนแรงไป การเอาประกันภัยความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกนี้มีรายการที่เป็นข้อยกเว้นที่ไม่ได้รับการคุ้ม ครองดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายซึ่งต้องเสียในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนให้ใหม่ ซึ่งงานส่วนใดก็ดีหรือทรัพย์สินส่วน ใดก็ดี ซึ่งเงื่อนไขในหมวดที่ 1 และ/หรือ หมวดที่ 2 แห่งกรมธรรม์ประกันภัยฉบับ (มาตรฐาน) นี้ได้คุ้มครอง แล้วหรือพึงจะคุ้มครองไว้ให้อยู่แล้ว
(2) ความรับผิดชอบที่เกิดจาก
2.1 การบาดเจ็บทางร่างกายหรือการป่วยเจ็บของบรรดาลูกจ้างหรือคนงานของผู้รับจ้าง ก่อสร้างหรือของบริษัทห้างร้านใดที่เกี่ยวข้องกับงานรับผิดชอบตามสัญญา ตลอดจน บรรดาสมาชิกในครอบครัวของบุคคลที่กล่าวถึงนี้ด้วย
2.2 ความสูญเสียหรือความเสียหายในทรัพย์สินซึ่งเป็นของหรืออยู่ในความดูแลรักษาหรือ ควบคุมของผู้รับจ้างก่อสร้างหรือของบริษัทห้างร้านอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับงานรับผิดชอบ ตามสัญญานี้ หรือแม้แต่ของลูกจ้างหรือคนงานคนหนึ่งคนใดของบรรดาฝ่ายต่างๆที่ได้ กล่าวถึงมานี้แล้วก็ตาม
2.3 อุบัติเหตุใดก็ตามอันมีสาเหตุจากยานพาหนะที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อใช้งานบนท้องถนน ทั่วไปหรือจากยานพาหนะทางน้ำหรือจากยานอากาศยาน
2.4 สัญญาหรือข้าตกลงใดก็ตามยกเว้นในกรณีที่ความรับผิดชอบของผู้เอาประกันภัยย่อม จะยังคงมีอยู่ แม้จะไม่มีการทำสัญญาหรือตงลงกันดังกล่าว
2.5 ข้อแนะนำทางวิชาการหรือทางวิชาชีพซึ่งผู้เอาประกันหรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดทำหนัาที่ แทนผู้เอาประกันเป็นผู้ให้ ในกรมธรรม์มาตรฐานที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะต้องใช้เหมือนกันทุกบริษัทยังต้องระบุสิ่งต่างๆต่อไปนี้ ไว้ก่อนคือ
(ก) ผู้เอาประกันภัย ถ้าเป็นงานจ้างเหมาก่อสร้างมักจะระบุทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง
(ข) ระยะประกันภัย
(ค) เบี้ยประกันภัย
(ง) เงื่อนไขทั่วไปที่เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เอาประกันจะต้องปฏิบัติ สิทธิของผู้เอาประกันบางประการและ อนุญาโตตุลาการ
(จ) ข้อยกเว้นทั่วไปซึ่งจะระบุถึงเรื่องต่างๆ ที่บริษัทผุ้รับประกันภัยจะไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ผู้เอาประกันภัย
(3) การจลาจลและการนัดหยุดงาน (riot and strike)
(4) การเข้าดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาเป็นครั้งคราว (visit maintenance)
(5) ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ซึ่งยกเว้นไม่คุ้มครองในกรมธรรม์มาตรฐาน นั้นก็คือ
ข้อยกเว้นที่กล่าวไว้ในข้อ (2) ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกข้อที่ 2.1-2.5 บุคคลที่ ยกเว้นนี้จะจัดให้อยู่ในความคุ้มครองได้ โดยกำหนดไว้ในสลักหลังกรมธรรม์มาตรฐานนั้น รายการที่ (3) (4) และ(5) จะไม่ปรากฏอยู่ในกรมธรรม์มาตรฐาน แต่เพื่อจัดให้มีการคุ้มครอง ในการเอาประกันภัย จะต้องลงไว้ในเอกสาร การสลักหลังหรือเอกสารต่อท้ายกรมธรรม์มาตรฐานนั้น เจ้าของหรือผู้ทำการก่อสร้างจะเอาประกันภัยเพื่อชดใช้สินไหมทดแทน เมื่อเกิดการสูญเสียหรือความ เสียหายขึ้นกับตนในรายการใดๆก็ได้ ตามที่กำหนดไว้และควรต้องปรึกษาหารือและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้กับตัวแทน บริษัทผู้ประกันภัยก่อนที่จะตัดสินใจทำประกันภัยให้กำโครงการของตน.